จำนวนประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีหรือสูงกว่า) ของไทยนั้นได้มีการประเมินว่าในปัจจุบันและคาดการณ์ในอนาคตว่า
- ในปี 2015 ไทยมีผู้สูงอายุจำนวน 11.69 ล้านคนหรือ 17.13% ของประชากรทั้งประเทศ
- ในปี 2020 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์โดยมีประชากรสูงอายุจำนวน 13.28 ล้านคนหรือ 20% ของประชากรทั้งประเทศ
- อีก 20 ปีข้างหน้า (2040) ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุจำนวน 22.40 ล้านคนหรือ 32.13% ของประชากรทั้งหมด
ดังนั้นการเตรียมการอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมในการรองรับจำนวนผู้สูงอายุของไทยที่จะเพิ่มขึ้นจาก 13 ล้านคนเป็น 22 ล้านคน จึงน่าจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ ของประเทศไทยทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการเมือง
ผู้สูงอายุเช่นผมจะให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพดีและความสมบูรณ์ของร่างกายอย่างต่อเนื่องและยาวนานจนวาระสุดท้ายของชีวิต (compressed morbidity) เพราะจะทำให้มีความสุขสบายและไม่เป็นภาระต่อผู้ใกล้ชิดและต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพัฒนาการที่สำคัญในด้านสาธารณสุขของไทยคือการจัดตั้งระบบประกันสุขภาพแห่งชาติหรือที่ตอนแรกเรียกว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” ซึ่งก็ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในการทำให้ประชากรของไทยสามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขอย่างถ้วนหน้า ทำให้ประเทศไทยได้รับคำชมเชยอย่างกว้างขวางและเป็นการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยอย่างมากเพราะชัดเจนว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับประชาชนคนไทยที่มีรายได้น้อย แต่ต้องยอมเสียเวลารอคิวในการรับบริการและยังต้องมีการจำกัดมูลค่าเฉลี่ยสูงสุดต่อหัวในการให้บริการรักษาพยาบาล ดังนั้นจึงยังมีการให้บริการที่ราคาและคุณภาพแตกต่างกันระหว่างคนรวยกับผู้ที่มีรายได้น้อย
แต่ประเด็นที่ผมให้ความสำคัญดังที่กล่าวข้างต้นคือการมีสุขภาพดีจนวันสุดท้ายของชีวิต ซึ่งในกรณีของผู้สูงอายุของไทยนั้นดูเหมือนจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่น ข้อมูลที่ว่าจำนวนผู้สูงอายุที่ต้องได้รับความช่วยเหลือในการทำกิจกรรมประจำวัน (เดินในบ้าน กินอาหารและอาบน้ำ) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 15.5% ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดในปี 2009 มาเป็น 20.7% ในปี 2014 สิ่งที่ผมอยากจะเห็นคืออนาคตที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นแต่เกือบทุกคนสุขภาพดีและแข็งแรง ทำให้สัดส่วนผู้ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือในการดำเนินชีวิตประจำวันลดลงให้มากที่สุด
เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ท้าทายประเทศไทยอย่างมากในอนาคตที่ประชากรไทยกำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว เช่น ค่ามัธยฐานของอายุของประชากรไทย (median age) ในปี 2020เท่ากับ 40.15 ปี แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 49.17 ปีในปี 2050 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ (non- communicable disease หรือ NCDs) เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งนี้สถิติของโลกปัจจุบันนี้พบว่าการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรนั้นประมาณ 2/3 เกิดจาก NCDs ไม่ใช่โรคติดต่อได้เช่น COVID-19 และแนวโน้มในอนาคตการเสียชีวิตขาก NCDs ก็มีแต่จะเพิ่มขึ้น เพราะระบบการแพทย์และการรักษาพยาบาลของโลก (และของไทย) นั้นยังเป็นการรอรักษาโรค (curing disease) มากกว่าการดูแลสุขภาพให้ดีตลอดไป (maintain good health and vitality)
กล่าวคือเรายังมีสมมติฐานว่าเมื่ออายุมากขึ้นและแก่ตัวลง สุขภาพก็จะถดถอยและต้องพึ่งพาคนอายุน้อยมากขึ้น จึงได้มีการคำนวณสัดส่วนของประชากรสูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน (age dependency ratio) ซึ่งของประเทศไทยนั้นจำนวนผู้ที่อยู่ในวัยทำงานต่อจำนวนผู้สูงอายุจะลดลงอย่างมากจาก 7 คนทำงานต่อ 1 ผู้สูงอายุในปี 2000 มาเป็น 3.7 คนต่อ 1 คนในปี 2020 และ1.7 คนต่อ 1 คนในปี 2050 โดยเป็นข้อมูลที่ผมเห็นจากงานวิจัยของรศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผมได้อ่านรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยพ.ศ.2561 ให้ความสำคัญกับการเสนอแนะเชิงนโยบายให้ผู้สูงอายุ “ยังคงอยู่ในกำลังแรงงานมากที่สุด” โดยรายงานให้ความสำคัญกับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะนำไปสู่การทำงานอย่างต่อเนื่องของผู้สูงอายุรวมทั้งสิ้น 8 ข้อ ซึ่งเมื่อดูในรายละเอียดของข้อมูลแล้วผมสรุปว่าการทำงานของผู้สูงอายุนั้นน่าจะช่วยในเรื่องของภาระทางเศรษฐกิจอย่างมาก เห็นได้จากตัวเลขประชากรแบ่งตามอายุดังนี้
จะเห็นได้หากผู้สูงอายุกลุ่ม 60-79 ปีทำงานต่อไปได้ก็จะลดภาระทางเศรษฐกิจอย่างมากเพราะจะเหลือจำนวนผู้ที่ผมเรียกว่า “แก่ชรา” ((80 ปีหรือมากกว่า) เพียง 1.3 ล้านคนในปี 2561 และแม้จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 ล้านคนในปี 2581 ก็น่าจะสามารถบริหารจัดการได้
แต่ประเด็นสำคัญที่จะเป็น game changer และทำให้การแก่ตัวของประชากรไม่เป็นภาระทางเศรษฐกิจน่าจะเป็นเรื่องของการทำให้กลุ่มคนอายุ 60-79 ปีมีสุขภาพแข็งแรงและไม่เป็นโรคเรื้อรังที่จะเป็นภาระกับระบบสาธารณสุขและทำให้คนกลุ่มนี้สามารถทำงานหาเงินเลี้ยงชีพตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง (แม้ว่าอาจจะไม่ค่อยอยากทำงานแต่อยากพักผ่อน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยังออมเงินเอาไว้สำหรับวัยเกษียณไม่เพียงพอ ทั้งนี้เพราะเบี้ยยังชีพรายเดือนที่ได้รับปัจจุบันนั้นคือ 600 บาทสำหรับคนที่อายุ 60-69 ปีและ 700 บาทสำหรับคนที่อายุ 70-79 ปี
รัฐให้เบี้ยยังชีพสำหรับคนอายุ 80-89 ปีเท่ากับ 800 บาทและสำหรับคนอายุ 90 ปีขึ้นไปจะเพิ่มเป็น 1,000 บาท แต่อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของคนไทยในปี 25661 นั้นอยู่ที่ 77 ปี ดังนั้นคนที่อยู่ในกลุ่มนี้อายุ 80 ปีหรือมากกว่าคงจะมีจำนวนไม่มากนักภายใต้สภาวะปัจจุบัน
ผมมีข้อสังเกตจากการอ่านรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยพ.ศ.2561 ว่ามีการกล่าวถึงการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคเรื้อรังไม่มากนัก ทั้งๆ ที่ในปัจจุบันนั้นประมาณ 2/3 ของจำนวนผู้ที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรนั้นเกิดจากการเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ (โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคปอด โรงสมองเสื่อม เป็นต้น) และโรคประเภทนี้บั่นทอนสุขภาพ ทำให้เป็นภาระในด้านการรักษาและทำให้ไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปรากฏว่าข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุไทย 10 ข้อนั้นปรากฏในหน้าสุดท้ายของรายงาน (หน้า 122)
ผมขอเสนอแนะให้ท่านผู้สูงอายุที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ลองอ่านข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่มีอยู่รายงานดังกล่าวและยังมีรายงายฉบับก่อนหน้าอีกหลายปีที่น่าสนใจอีกด้วย สำหรับผมนั้นได้ไปลองอ่านดูรายงานประเภทเดียวกันของสหรัฐ โดยสถาบันการสูงวัยแห่งชาติ (National Institute on Aging) ซึ่งเพิ่งเขียนแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีออกมาเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งผมจะได้นำมาเขียนถึงในสัปดาห์หน้าครับ
August 31, 2020 at 04:02AM
https://ift.tt/34MPeq3
การดูแลผู้สูงอายุ (1) | เศรษฐศาสตร์ + สุขภาพ - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/2BaQsOR
Home To Blog
No comments:
Post a Comment