Pages

Friday, September 4, 2020

ความสนุกของ "ปวิณ วรพฤกษ์" (Cyber Weekend) - ผู้จัดการออนไลน์

suriyus.blogspot.com

ปวิณ วรพฤกษ์
พฤศจิกายน 62 “ปวิณ วรพฤกษ์” ลาจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอชพี อิงค์ ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ปิดประตูใส่ตลาดธุกิจคอมพิวเตอร์พีซีและฮาร์ดแวร์คอนซูเมอร์หลังจากที่เคยโลดแล่นในบริษัทใหญ่ทั้งเลอโนโวและเอเซอร์เป็นเวลากว่า 18 ปี วันนี้ปวิณก้าวเข้ามาอยู่บ้านหลังใหม่ "ติงส์ ออน เน็ต" บ้านที่ปวิณเอ่ยปากว่า "อยู่แล้วสนุก" ตลอด 7 เดือนที่ผ่านมา

"เป็น 7 เดือนที่สนุกมาก ผมได้เจอแพลตฟอร์มที่หลากหลายทุกวัน" ปวิณ วรพฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ติงส์ ออน เน็ต จำกัด ลงรายละเอียดความสนุกว่ามีที่มาจากการดำเนินธุรกิจโครงข่ายอินเทอร์เน็ตออฟติงส์ หรือไอโอที (Internet of Things: IoT) ด้วยเทคโนโลยีซิกฟ็อกส์ (Sigfox) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะไกลแบบประหยัดพลังงาน (Low Power Wide Area Network: LPWAN) ความ "พร้อมใช้และพร้อมขาย" ของโซลูชันซิกฟ็อกส์ทำให้สามารถนำสรรพสิ่งมาอยู่บนอินเทอร์เน็ตได้ง่ายและหลากหลายยูสเคส คลุมธุรกิจทุกขนาดทุกอุตสาหกรรม

ความสนุกของบ้านนี้ยังอยู่ที่ความยิ่งใหญ่ ปวิณเชื่อว่าตลาด IoT ไทยจะก้าวหน้าเต็มที่ในช่วง 3-5 ปีนับจากนี้ โดยชาแนลหรือช่องทางจำหน่ายคอมพิวเตอร์พีซีไทยจะหันมาจำหน่ายโซลูชัน IoT อย่างจริงจัง สาเหตุเพราะวันนี้ยอดขายพีซีในตลาด SMB หดตัว ทำให้ชาแนลต้องพยายามกลับไปหาลูกค้าเก่าที่เป็นองค์กรใหญ่และมีกำลังซื้อ ด้วยการหาสินค้าใหม่ที่ยังไม่เคยขายและสามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้

IoT แซงทุกอย่าง

ผลการสำรวจของบริษัทวิจัยแมคคินซี ระบุว่าปี 2025 ตลาด IoT จะมีเงินสะพัดแซงหน้าทุกเทคโนโลยี คาดว่าภาพรวมอิมแพคทางเศรษฐกิจจากตลาด IoT จะสูงเกิน 11.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่าตลาดโมบายอินเทอร์เน็ต ระบบออโตเมชัน และคลาวด์

สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ โชว์ตัวเลขว่าปี 2030 มูลค่าตลาด IoT จะมีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 2,190 ล้านเหรียญ จากที่มีมูลค่า 120 ล้านเหรียญในปี 2018 เฉลี่ยแล้วเป็นอัตราเติบโต 27%

"ที่เติบโตเช่นนี้เพราะ IoT ช่วยพัฒนาสินค้าและธุรกิจให้บริษัทได้ ทั้งการลดต้นทุน เพิ่มผลิตผล และหาลูกค้าใหม่ เทรนด์ IoT มีความท้าทายที่การมีส่วนประกอบหลากหลายมาก ทั้งการซิงก์เชื่อมต่อ การพัฒนาสมาร์ทโมดูล การพัฒนาเซ็นเซอร์ การส่งข้อมูล จากเซ็นเซอร์ไปซอฟต์แวร์ สู่แอปพลิเคชันและระบบอะนาไลติก ในไทยตอนนี้ยังไม่ครบวงจร จึงไม่ตอบโจทย์เพราะยังไม่ครบ"

ปวิณเล่าว่าเทคโนโลยี IoT วันนี้มี 2 แบบคือระยะสั้นและระยะยาว (Short-, Long-Range) ขณะที่การสื่อสารข้อมูลไร้สายมีพัฒนาการตั้งแต่ 1G, 2G, 3G, 4G และล่าสุดคือ 5G แต่จุดยืนของซิกฟ็อกส์ที่ติงส์ ออน เน็ต ได้สิทธิ์ทำตลาดรายเดียวในไทยจะเป็นเทคโนโลยี 0G ที่อยู่ตรงกลาง เป็นเทคโนโลยีระดับโลกจากฝรั่งเศสที่มีเครือข่ายครอบคลุมมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก

"เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน IoT สำหรับอุตสาหกรรม เราทำธุรกิจเดียวไม่เหมือนรายอื่นที่มีดำเนินธุรกิจอื่นคู่ไปด้วย ซิกฟ็อกส์เป็นเทคโนโลยีส่งสัญญาณวิทยุระยะไกลที่ประหยัดพลังงานกว่า 5G ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี 2010 สามารถใช้ใน 70 ประเทศแบบไม่ต้องโรมมิ่งและไม่ต้องจับคู่หรือแพร์ หากเจอเสาก็จะรับส่งสัญญาณได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยนถ่าน ไม่ต้องเสียบปลั้ก สามารถใช้งานง่ายเพราะสามารถติดกับสิ่งของแล้วส่งข้อมูลขึ้นคลาวด์ ไปวิเคราะห์ได้เลย"

ปวิณเทียบความเก่งของซิกฟ็อกส์เหมือนมอเตอร์ไซค์ที่มีจุดต่างจากรถคันใหญ่ใช้น้ำมันมากเหมือนระบบไวด์แบนด์ การเป็นมอเตอร์ไซค์ที่ส่งข้อมูลเล็กมาก 12 ไบต์ต่อแมสเสจทำให้คล่องตัว โดยระบบจะส่งข้อมูลซ้ำ 3 ครั้งเพื่อป้องกันคลื่นรบกวน

ที่ผ่านมา ซิกฟ็อกส์ได้ร่วมมือกับผู้ผลิตกระเป๋าหลุยส์ วิกตองในการพัฒนาระบบติดตามกระเป๋าหรูซึ่งสามารถใช้งานได้ใน 114 สนามบิน มีการปั้มแบรนด์ LV บนเซ็นเซอร์เพื่อจำหน่ายพร้อมกระเป๋าลิมิเท็ดอิดิชั่น แต่สำหรับตลาดไทย ปวิณมองตลาดหลักที่สมาร์ทซิตี้ ซึ่งซิกฟ็อกส์สามารถตอบโจทย์เมืองอัจฉริยะองค์รวมได้มากกว่าแค่การตั้งเสาอัจฉริยะ

"สมาร์ทซิตี้ไทยเราเป็นเทรนด์ใหญ่ รัฐบาลให้ความสำคัญ สมาร์ทซิตี้อาจจะมองกันเฉพาะที่เสาอัจฉริยะหรือการเพิ่มกล้องวงจรปิด แต่ที่จริงมีมากกว่านั้น คือการดูแลองค์รวมของฟาซิลิตี้ทั้งหมด ทั้งสมาร์ทไลท์ สมาร์ทพาร์คกิ้ง" ปวิณเล่า "เราสามารถนำเซ็นเซอร์ไปติดในพื้นที่จอดรถ ไม่ต้องเสียบปลั๊ก ไม่ต้องแพร์ ไม่ต้องต่อสาย ใช้ได้ต่อเนื่องนาน 5-10 ปี หรืออาจจะติดที่ถังขยะ สามารถติดตามคุณภาพอากาศ เซ็นเซอร์เหล่านี้ย้ายง่าย ใช้ได้ทั้งนอกและในอาคาร"

ปวิณโชว์ของว่าซิกฟ็อกส์ได้รับเลือกให้ติดตั้งกับมิเตอร์น้ำ 8 แสนชิ้นที่ญี่ปุ่น เพราะหากเกิดแผ่นดินไหว เซ็นเซอร์จะสามารถตัดแก๊สได้ทันที นอกจากนี้ การแจ้งเตือนยังมีรายละเอียดว่าอยู่ตรงไหน หรือชั้นไหนของอาคาร ไม่ใช่ส่งเสียงเท่านั้นแบบในบางเซ็นเซอร์

รายได้หลักของ ติงส์ ออน เน็ต จะเกิดขึ้น 3 ทาง คือค่าแอร์ไทม์ 250 บาทต่อปี ค่าเซ็นเซอร์ที่มีให้เลือกหลักร้อยถึงหลักหมื่นบาท ค่าแพลตฟอร์มอะนาไลติกส์ต่างๆ
ไม่แค่คุณภาพอากาศ แต่โซลูชันของซิกฟ็อกส์สามารถดูกระแสอากาศได้ด้วย สามารถติดในสนามบินและอาคาร โดยบางยูสเคสมีการใช้โซลูชันซิกฟ็อกส์ตรวจจับหนู ทำให้ทราบว่าหนูกำลังวิ่งอยู่ที่ไหนแล้ววางแผนจับได้ ขณะที่สนามบินสิงคโปร์ใช้โซลูชันซิกฟ็อกส์จัดการฟาซิลิตี้ ติดเซ็นเซอร์ไว้ตรวจจับการใช้งานโต๊ะ ห้องน้ำ และหลายพื้นที่ช่วงโควิด เพื่อไม่ให้แม่บ้านเข้าไปทำความสะอาดห้องน้ำบ่อยเกินไป โดยสามารถใช้เซ็นเซอร์ตรวจดูคุณภาพสุขภาวะได้

นิวนอร์มัลนำเทรนด์ IoT สุขภาพ

ปวิณมองว่าโควิด-19 ทำให้ตลาด IoT ด้านสุขภาพมีความสำคัญ จากเดิม ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพอยู่แล้ว มีการใช้โซลูชันระดับเวิร์ลคลาส แต่โควิดจะทำให้การใช้ไอทีในเฮลท์แคร์เข้มข้นมากขึ้นอีก โดย IoT ด้านสุขภาพในต่างประเทศได้รับความนิยมสูงเพราะมีผู้ป่วยจำนวนมาก ภาวะเตียงไม่พอทำให้มีการนำเทคโนโลยี IoT มาทำให้เตียงธรรมดามีปุ่มฉุกเฉิน ซิกฟ็อกส์จึงถูกปรับให้เป็นปุ่มสำหรับนำไปติดหรือให้ผู้ป่วยถือไว้ โดยไม่ต้องลากสายไฟใดๆเพราะมีแบตเตอรี่ในตัว

"ความเก่งคือเมื่อเอาเข้าแพลตฟอร์ม คุณค่าจะทวีคูณเพราะรู้หมดว่าผู้ป่วยกดกี่ครั้ง กี่โมง ต้องการความช่วยเหลือบ่อยในช่วงไหน ข้อมูลสามารถเอาไปพัฒนาและวางแผนการทำงานของหมอและพยาบาล เป็นข้อดีของ IoT ที่แท้จริง และเอาไปที่ไหนก็ได้"

ส่วนที่ 2 คือการรองรับสังคมสูงอายุ การติดเซ็นเซอร์เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้สูงวัยจะไม่รบกวนชีวิตส่วนตัวเหมือนกล้องวงจรปิด สามารถใช้งานในรูปโมชันเซ็นเซอร์ที่รองรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ด้วย โดยติดไว้ที่ประตูหรือพื้นที่ไม่อยากให้ผู้ป่วยออกไป ระบบจะส่งสัญญาณเตือนเมื่อออกจากพื้นที่ หรืออาจจะติดที่ตัวผู้ป่วย เพื่อให้สามารถกดปุ่มฉุกเฉินได้ทันท่วงที

ส่วนที่ 3 คือการใช้ในระบบซัปพลายเชน IoT ทำให้มั่นใจว่าสินค้าได้ส่งถึงแล้ว ซิกฟ็อกส์ใช้งานแล้วที่ DHL เยอรมันและผู้ผลิตเครื่องบินแอร์บัส ทำให้สามารถติดตามชิ้นส่วนและสินค้าที่อยู่ทั่วโลกได้แบบไม่ต้องพึ่งแรงงานคน ขณะเดียวกันก็วางแผนการเก็บสินค้าคงคลัง ให้ลดต้นทุนและลดพื้นที่ได้

"ที่นิยมในไทย คือโคลด์เชนแมเนจเมนต์ เซ็นเซอร์นี้สามารถติดที่ตู้เย็น ตู้แช่ไอศกรีม ทำให้ตรวจอุณหภูมิได้ตลอดเวลา ตอนนี้หลายแห่งต้องใช้คนเดินดู แต่ต่อไปไม่ต้องเดิน ส่งคนไปดูก็พอว่าเครื่องผิดปกติหรือเปล่า"

อีกส่วนที่จะมีบทบาทในไทยคือ IoT ภาคเกษตรกรรม ปวิณมองว่าในอดีตอาจไม่เป็นที่นิยมเพราะ IoT ที่มียังไม่ใช่ "อินดรัสทรีเกรด" ที่ได้คุณภาพระดับอุตสาหกรรม แต่ซิกฟ็อกส์สามารถทำโซลูชันสำหรับใช้ในฟาร์มเปิดได้ ทั้งการติดตามสัตว์ว่าอยู่ที่ไหน อุณหภูมิในฟาร์ม ตรวจจับการคลอด และนำเอาข้อมูลไปวิเคราะห์ได้ต่อ โดยเฉพาะข้อมูลพยากรณ์อากาศ เซ็นเซอร์สามารถนำไปติดกลางทุ่งเพื่อดูลมฝน หรือติดเซ็นเซอร์ที่ดินในทุกจังหวัดเพื่อวางแผนการเพาะปลูก ลดการเสียหายของราคาพืชผลได้

"ข้อดีของเรา คือมีเซ็นเซอร์พร้อมใช้เลย ไม่ต้องพัฒนาเพิ่ม มีแพลตฟอร์มที่รองรับได้หลากหลาย ตอนนี้ในไทย เราโฟกัส 3 เรื่องคือ 1. ฟาซิลิตี้แมเนจเมนท์และสมาร์ทซิตี้ 2. ซัปพลายเชนแมเนจเมนท์ และ 3. เมนูแฟคเจอริ่ง ความยากคือต้องมีโซลูชันที่ครอบคลุมหมด แต่ข้อดัคือเรามีซิกฟ็อกส์ จากที่ต้องใช้เวลาพัฒนา 9-12 เดือน เราสามารถอิมพอร์ตเข้ามาได้เลย ตอนนี้เริ่มทำกับบริษัทเซ็นเซอร์เมกเกอร์ไทยแล้ว มีหลาย 100 ประเภท เราแต่เอามาบางส่วนเพื่อทำตลาดไทย"

กลยุทธ์ที่ปวิณจะใช้คือ 4C คือคอมมูนิเคชันหรือการสื่อสาร ปวิณมองว่า ติงส์ ออน เน็ต เป็นบริษัทใหม่ จึงต้องสร้างโลโก้ใหม่ให้เป็นที่จดจำ โดยปูพร้อมสร้างช่องทางติดต่อทั้งออนไลน์และออนไลน์ นอกจากนี้คือคัฟเวอร์เรจหรือการขยายโครงข่ายบริการ (Base Station) ของติงส์ ออน เน็ต ในประเทศไทย ขณะนี้ครอบคลุมกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดต่างๆ ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ตามแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 และจะขยายให้คลุมทุกจังหวัดทั่วไทยภายในสิ้นปี 2563

"C ที่ 3 คือชาแนล ค่ายอื่นอาจขายเอง แต่เรามอบให้ชาแนลเป็นผู้ทำตลาด ช่องทางจำหน่ายเหล่านี้จะมีความเชี่ยวชาญในการขาย" ปวิณระบุ "วันนี้พาร์ทเนอร์ก็มีความท้าทายเรื่องหาสินค้าใหม่มาขาย เพื่อให้รักษาผลกำไรให้ดีต่อไป ผมเชื่อว่า IoT จะเป็นอีกทางเลือกให้ชาแนลพิจาณานำไปขาย เพราะเป็นสินค้าที่มีกำไรและมีแนวโน้มการเติบโตไม่ต่ำกว่า 27% ตามตัวเลขของแมคคินซี เชื่อว่าใครขายไอทีแล้ว ก็ควรมี IoT ประกอบไปด้วย"

ปวิณเรียก C ตัวสุดท้ายว่า Co-partnership ไม่ใช่อีโคซิสเต็มส์แต่เป็นพันธมิตรที่จะต้องร่วมทำงานกัน ทั้งส่วนเซ็นเซอร์แมคเกอร์ที่มีจำนวนมากในไทย ผู้ให้บริการโลคัลคลาวด์ สมาคมไทย IoT ล่าสุดมีการประสานงานกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือดีป้า รวมถึงภาคการศึกษา เพื่อสร้างเยาวชนที่คุ้นเคยกับซิกฟ็อกส์มากขึ้น

"เพราะเทคโนโลยีนี้ยังใหม่ อุตสาหกรรมก็ใหม่ เราจะมีพาร์ทเนอร์ที่อาจเกี่ยวและไม่เกี่ยวกับ IoT มาทำโซลูชันร่วมกัน ต่อยอดได้ทั้งด้านความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น ตอนนี้เราทำให้ระบบสามารถเชื่อมต่อกับ RFID ได้ เป็นการต่อกันระหว่างเทคโนโลยีระยะสั้นและยาว"

ปวิณมองว่าพัฒนาการ IoT ประเทศไทยวันนี้ยังอยู่ในขั้นตั้งไข่ หากมี 5 ขั้นถือว่าไทยอยู่ในขั้นที่ 1 เท่านั้น
เป้าหมายปีนี้ ปวิณมองไว้ 4 ด้าน ด้านแรกคือจะเป็น "หนึ่งในใจ" ของผู้บริโภคในตลาด IoT เรื่องจดจำได้ ด้านที่ 2 คือคัฟเวอร์เรจ ปีนี้จะต้องคลุมทุกจังหวัดตามที่วางแผนไว้แม้ในบางจังหวัดจะได้รับผลกระทบจากการปิดเมืองช่วงโควิด-19 เช่น ภูเก็ต ด้านที่ 3 คือการสร้างชาแนลคอมมูนิตี้ ซึ่งปวิณย้ำว่าสินค้า IoT ขายคนเดียวไม่ได้ เนื่องจากตลาดไทยใหญ่กว่าที่คิด ยังมีลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ที่ยังมีโอกาส และสินค้าไอทีไม่ต่ำกว่า 95% ของตลาดรวมล้วนขายผ่านชาแนล

สำหรับด้านที่ 4 ปวิณบอกว่าต้องเชื่อมต่อจุดหรือ "คอนเนคเดอะดอท" เพื่อให้ซิกฟ็อกส์สามารถเชื่อมกับระบบที่ลูกค้าใช้งานอยู่ก่อนได้

"ไม่รู้ว่าตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมกับการบุกตลาด IoT หรือเปล่า แต่อย่างน้อยเวลานี้เป็นช่วงที่เทคโนโลยีมีความพร้อม และเป็นเทรนด์ในช่วงโควิด ที่สำคัญคือการรวมกับกลุ่มราช (บริษัท ราช กรุ้ป จำกัด มหาชน) ประกอบกับประเทศไทยมียุทธศาตร์สมาร์ทซิตี้ ขณะที่ดีมานด์ความต้องการใช้งาน IoT ในภาคการผลิตยังสูง รวมถึงเฮลท์แคร์ และการเกษตรที่เรายังไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเท่าไหร่"

ปวิณย้ำว่าไม่ได้มองผู้ให้บริการโครงข่ายบริการ IoT อย่างเอไอเอส ทรู หรือแคทเป็นคู่แข่ง แต่มองเป็นพาร์ทเนอร์ที่พร้อมทำงานร่วมกันเพื่อให้ลูกค้าสามารใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ เบื้องต้นประเมินว่าจะลงทุนติดตั้งเสา 1,400 ต้นทั่วไทย โดย 1 ต้นจะครอบคลุมพื้นที่ 10 กิโลเมตร เบ็ดเสร็จแล้วต้องลงทุนร่วม 800-900 ล้านบาทในการติดตั้งเสาสัญญาณ

รายได้ของ ติงส์ ออน เน็ต จะเกิดขึ้น 3 ทาง คือค่าแอร์ไทม์ 250 บาทต่อปี ค่าเซ็นเซอร์ที่มีให้เลือกหลักร้อยถึงหลักหมื่นบาท ค่าแพลตฟอร์มอะนาไลติกส์ต่างๆ โดยอนาคตวางแผนจะให้บริการ IoT as a service ในรูปสมาชิกรายเดือน

ส่วนตัว ปวิณมองว่าพัฒนาการ IoT ประเทศไทยวันนี้ยังอยู่ในขั้นตั้งไข่ หากมี 5 ขั้นถือว่าไทยอยู่ในขั้นที่ 1 เท่านั้น

"ไทยอาจจะอยู่ขั้นที่ 5 ได้ใน 3-5 ปี เพราะมีดีมานด์ คนไทยเปิดรับและชอบเทคโนโลยีทันสมัย ประเทศไทยไม่ได้ล้าสมัย ผมมองว่าจะเร็วด้วย แต่ต้องช่วยกันทุกภาคส่วน" ปวิญอธิบาย "ที่อยู่ขั้น 1-2 เพราะยังต้องต่อจิ๊กซอว์ ถ้าลูกค้าต้องการลดต้นทุน แต่ข้อมูลที่มียังกระจัดกระจายมาก เพราะขาดความเข้าใจ การจัดเก็บ และการวางแผน ตรงนี้ต้องร่วมกับลูกค้า ดูจุดที่ต้องการตอบโจทย์ ผมคิดว่าชาแนลพาร์ทเนอร์หลายคนก็ต้องการขาย IoT ในวันนี้แต่ยังใช้เวลานาน เลยขายอย่างอื่นไปก่อน"

นอกจาก 900 ล้านบาทที่เป็นงบตั้งเสาโครงข่ายบริการ ปวิณยอมรับว่าปีหน้าบริษัทจะลงทุนงบมาร์เก็ตติ้งเพื่อสร้างแบรนด์และการสื่อสาร โดยปีหน้าจะมีการขยายบุคลากรและความร่วมมือ คู่กับการอบรมชาแนล การทำ POC แพลตฟอร์ม เรียกว่าปีหน้าจะรุกหนักเพื่อให้บริษัทเติบโต เป้าหมายคือการเพิ่มชาแนลหลัก 12 ราย คาดว่าจะมีรีเซลเลอร์ทั่วไปรวม 100 รายในไตรมาส 2 ปีหน้า

"ส่วนตัวผมคิดว่า คนเราจะไม่ได้ทำงานเดียวต่อไป อาจไม่ได้ขับแต่รถยนต์ เพราะต้องไปขับโดรนด้วย คือเราต้องปรับตัว อุตสาหกรรมไอทีปรับตัวเร็วอยู่แล้ว เราใช้ชาแนลเพราะผลักดันได้ดีที่สุด ผมได้เห็นการปรับตัวในชาแนลเหล่านี้ จากที่เคยขายแต่โน้ตบุ๊ก พรินเตอร์ แต่ตอนนี้ต้องขายหมดทุกอย่าง คิดว่าเป็นอีกโซลูชันที่ชาแนลจะเลือกขายสินค้าใหม่" ปวิณสรุปส่งท้าย "IoT เป็นเรื่องที่ทำแล้วสนุกและท้าทาย เพราะเป็นสเต็ปแรกในบ้านเรา ยังมีเทคโนโลยีและโร้ดแมปอีกมาก ถ้าเราเจอเซ็นเซอร์แมกเกอร์ไทยที่ตอบโจทย์เรา ก็จะส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ด้วย เพิ่มช่องทางเติบโตให้ตลาดไอทีในประเทศไทยได้อีก"

นี่ละ ความสนุกของ "ปวิณ วรพฤกษ์".

Let's block ads! (Why?)


September 05, 2020 at 07:48AM
https://ift.tt/3jO3UcK

ความสนุกของ "ปวิณ วรพฤกษ์" (Cyber Weekend) - ผู้จัดการออนไลน์
https://ift.tt/2BaQsOR
Home To Blog

No comments:

Post a Comment