Pages

Saturday, September 5, 2020

แผนฟื้นเศรษฐกิจอาเซียนทิ้งห่างมาตรการไทย - กรุงเทพธุรกิจ

suriyus.blogspot.com

6 กันยายน 2563 | โดย วัชร ปุษยะนาวืน

54

จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทุกประเทศอย่างรุนแรง ทำให้แต่ละประเทศต่างออกมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่แต่มาตรการของไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆถือว่าเข้าตาหรือไม่

จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทุกประเทศอย่างรุนแรง ทำให้แต่ละประเทศต่างออกมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการอย่างเร่งด่วน ในส่วนของประเทศไทยภาครัฐได้ทุ่มงบประมาณความช่วยเหลือประมาณ 14.3% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าเป็นการใช้จ่ายที่ไม่ได้สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่มาตรการของไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆถือว่าเข้าตาหรือไม่ 

รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า มาตรการความช่วยเหลือของไทยมีความแตกต่างจากประเทศอื่นในภูมิภาค 4 ประการหลัก ได้แก่ ประการแรก มาตรการความช่วยเหลือเพื่อลดต้นทุนของผู้ประกอบการโดยตรงของไทย โดยเฉพาะด้านภาษีมีน้อยกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค การช่วยเหลือด้านภาษีส่วนใหญ่เป็นเพียงการเลื่อนการชำระภาษี 3 เดือน ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายและการพยายามเร่งคืนภาษีให้กับผู้ประกอบการ

ขณะที่ประเทศอื่น ๆ มีการใช้นโยบายทางด้านภาษีอย่างจริงจัง เช่น สิงคโปร์มีการคืนภาษีนิติบุคคล 25% และอสังหาริมทรัพย์ 30% ในขณะที่จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ได้ลดภาษีในบางส่วน เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล การยกเว้นการเก็บภาษีบริการ การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือการลดฐานภาษีตามรายได้ที่ลดลง เป็นต้น 

การเลื่อนภาษีในหลายประเทศมีระยะเวลามากกว่า 3 เดือน เช่น 9 เดือนในเกาหลีใต้ หรือเกือบ 1 ปีในญี่ปุ่น ในกรณีที่มีรายได้ลดลง ส่วนสิงคโปร์และจีนยินยอมให้ผู้ประกอบการนำเอายอดขาดทุนที่เกิดขึ้นในปี 2020 มาหักจากกำไรที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ภายในระยะเวลาหนึ่ง เช่น 3 ปีในสิงคโปร์ และ 8-10 ปีในจีน

ประการที่สอง ประเทศในภูมิภาคมีการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยตรงในการสนับสนุนการจ้างงานในขณะที่ยังไม่มีมาตรการเช่นนี้ชัดเจนในไทย กรณีสิงคโปร์รัฐบาลจ่ายเงินช่วยเหลือแรงงาน 25%-75% ของค่าจ้างพื้นฐานเป็นเวลา 9 เดือน โดยเริ่มจ่ายเดือนเม.ย.ใน รอบแรก ก.ค.รอบที่ 2 และต.ค.รอบที่ 3 โดยในรอบเดือนเม.ย.รัฐบาลจะจ่ายให้ 75% ของค่าจ้างพื้นฐานแก่ทุกอาชีพในทุกอุตสาหกรรม 

ส่วนในรอบเดือนที่เหลือจะจ่าย 75% ให้กับแรงงานในอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวการจัดประชุม การเดินเรือธุรกิจ และธุรกิจแลกเงิน รัฐช่วยจ่าย 50% ให้กับแรงงานในอุตสาหกรรมการบริการ และอุตสาหกรรมอาหาร และรัฐช่วยจ่าย 25% สำหรับทุกอุตสาหกรรม

ในมาเลเซียรัฐบาลช่วยจ่ายค่าจ้างให้ผู้ประกอบการในอัตรา 600-1,200 ริงกิต ระยะเวลา 3 เดือน และยกเว้นการจัดเก็บเงินสมทบในกองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 6 เดือน รัฐบาลเกาหลีใต้เพิ่มวงเงินอุดหนุนค่าจ้าง 67% สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และ 90% สำหรับ SMEs และพักการส่งเงินประกันสังคม 3 เดือน ส่วนเวียดนามมีการปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ย 0% ให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อจ่ายค่าจ้างแรงงาน และมีการยกเว้นเงินสมทบกองทุนเข้าสู่สหภาพแรงงาน 6 เดือน ในจีนและญี่ปุ่นมีมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการในเรื่องการจ้างงานลักษณะนี้เช่นกัน

ประการที่สามมาตการการให้สินเชื่อของประเทศอื่นในภูมิภาคเน้นที่ผู้ประกอบการ SMEs เช่นเดียวกับไทย แต่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหญ่สามารถที่จะเข้าถึงเงินสินเชื่อพิเศษได้เช่นกัน อีกทั้งระยะเวลาการปล่อยสินเชื่อมากกว่า 2 ปี รวมทั้งมีการประกาศการค้ำประกันเงินกู้จากรัฐบาล เช่น ในญี่ปุ่นรัฐบาลมีการจัดสรรเงินเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้ประกอบการขนาดใหญ่รัฐบาลประกันเงินกู้ 80-100%

 ในสิงคโปร์ผู้กู้สามารถกู้ได้ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษเป็นระยะเวลา 5 ปี และได้รับการค้ำประกัน 90% ในมาเลเซียรัฐบาลเตรียมวงเงิน 2 หมื่น - 1 ล้านริงกิต เพื่อปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ 5.5% ปี (ปลอดชำระ 6 เดือน) และเตรียมวงเงิน 5 หมื่นล้านริงกิต เพื่อค้ำประกันเงินกู้ให้ภาคเอกชนสูงสุด 80% เป็นต้น

ประการที่สี่ ประเทศอื่นในภูมิภาคมีมาตรการการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการบางอุตสาหกรรมที่ถูกกระทบอย่างมากจากวิกฤติโควิด-19 เป็นพิเศษ สำหรับประเทศไทยมาตรการเหล่านี้ยังไม่ชัดเจน ในเกาหลีใต้มีการตั้งวงเงิน 40 ล้านล้านวอนในการช่วยเหลือ 7 อุตสาหกรรม ได้แก่ การบิน ขนส่ง ท่องเที่ยว โรงแรง การส่งออก โลจิสติกส์ และอาหาร รวมทั้งมีการลดค่าธรรมเนียมต่างๆให้กับอุตสาหกรรมเหล่านี้ สิงคโปร์มีการให้เงินอุดหนุนสำหรับการจ้างแรงงาน ซึ่งให้ในอัตราที่ไม่เท่ากันโดย อุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว การเดินเรือ จะเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับเงินสนับสนุนมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น 

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะเห็นได้ว่ามาตรการช่วยเหลือของไทยบางส่วนอาจไม่มีประสิทธิภาพมากพอในการกระตุ้นภาคธุรกิจภายใต้สถานการณ์ความต้องการที่ไม่แน่นอน และการลดลงของเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ  โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงขนาดของการปล่อยสินเชื่อ Soft loan และโครงการภายใต้ พรก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาท

ดังนั้น รัฐบาลควรพิจารณามาตรการเพิ่มเติม ได้แก่ 1. ลดต้นทุนของผู้ประกอบการโดยตรงผ่านทางด้านภาษี 2. มีการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยตรงในการสนับสนุนการจ้างงาน 3. มีการพิจารณาเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อ มากกว่า 2 ปี ,ความชัดเจนเรื่องการประกาศการค้ำ ประกันเงินกู้จากรัฐบาล เพื่อกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพของการใช้soft loan เพิ่มขึ้น 4. พิจารณาทบทวนโครงการภายใต้พรก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แทนที่จะเป็นการให้ความสำคัญกับการก่อสร้างเป็นหลัก อย่างสิงคโปร์ เกาหลีใต้ จีน หรือเวียดนาม นำงบไปพัฒนาศักยภาพทาง ด้านดิจิทัล และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และ5. จัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรงเป็นพิเศษ

“รัฐบาลควรจะให้ความสำคัญกับธุรกิจเอสเอ็มอีกลุ่มที่มีความเปราะบางที่มีอยู่ประมาณ 5 หมื่นราย ซึ่งจะกระทบต่อแรงงานกว่า 4 ล้านคน หากไม่มีมาตรการเข้ามาช่วยเหลือมากกว่านี้ก็มีความเสี่ยงต่อการปิดกิจการ”

Let's block ads! (Why?)


September 06, 2020 at 06:02AM
https://ift.tt/3m2vghh

แผนฟื้นเศรษฐกิจอาเซียนทิ้งห่างมาตรการไทย - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/2BaQsOR
Home To Blog

No comments:

Post a Comment