Pages

Saturday, August 29, 2020

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ขยะเดลิเวอรี่ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

suriyus.blogspot.com

วันอาทิตย์ ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.

ก่อนสถานการณ์ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ประเทศไทย มีการตื่นตัวถึงปัญหาขยะพลาสติก และมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง อันมีผลมาจากการรับรู้ถึงผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม จากการตายของสัตว์ทะเลที่สาเหตุการตายส่วนใหญ่มาจากการกินขยะพลาสติก จากผลสำรวจของบริษัทคันทาร์ ผู้นำด้านข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาการตลาดระดับโลก พบว่าขยะพลาสติกเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คนไทยตื่นตัวมากที่สุดถึง 18% เป็นอันดับหนึ่งของโลก มากกว่าค่าเฉลี่ยผลสำรวจประชากรทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 15% และจากผลสำรวจพบว่าประชากรของไทย 12% จัดเป็นคนกลุ่ม Eco-Doer คือ คนที่พยายามลดขยะพลาสติกในชีวิตประจำวันด้วยการพกถุงผ้า ขวดน้ำรีฟิล หรืองดรับอุปกรณ์รับประทานอาหารพลาสติก แต่อย่างไรก็ตามคนในกลุ่มนี้ก็ยังบริโภคสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงการลดปริมาณขยะพลาสติกได้เพียงบางส่วน ซึ่งไม่มากพอที่จะส่งผลในเชิงบวกต่อปริมาณขยะพลาสติกภายในประเทศ ดังนั้น ภาครัฐได้ออกมาตรการ “โรดแมปจัดการขยะพลาสติกปี 2018” โดยเริ่มขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการจนเกิดโครงการ “Every day Say No to Plastic Bag”งดแจกถุงแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 โดยคาดว่าจะสามารถลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วได้มากกว่า 2,000 ล้านใบหรือประมาณ 5.7 ล้านกิโลกรัม แต่เมื่อเกิดการระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ไปทั่วโลก ประเทศไทยซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงเช่นกันรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศและมีมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรค หลายองค์กรสนับสนุนการทำงานจากบ้าน (Work From Home) ร้านอาหารถูกบังคับให้บริการแบบซื้อกลับบ้านแทนการนั่งกินที่ร้าน ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในรูปแบบ New Normal เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ทำให้การสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งเป็นทางเลือกที่สะดวกสบาย ปลอดภัย แต่อาจมองข้ามปัญหาที่ตามมา คือการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของปริมาณขยะพลาสติก แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งซึ่งการใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่แต่ละครั้งจะเพิ่มขยะบรรจุภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ ไม่น้อยกว่า 5 ชิ้น เช่น กล่องพลาสติกใส่อาหาร ช้อน ส้อมพลาสติก ซองช้อน ส้อมพลาสติก ซองเครื่องปรุงรสและถุงพลาสติกใส่อาหาร เป็นต้น โดยรายงานของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) พบว่า ช่วงที่มีการระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ปริมาณขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจากบริการส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15% (จากปริมาณขยะในช่วงสถานการณ์ปกติ 5,500 ตันต่อวัน เป็น 6,300 ตันต่อวัน)

แนวทางการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่เกิดจากการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ อาทิ

1.Reduce

แพลทฟอร์ม : ไม่แจกพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งทั้งหมด

ร้านค้า : ไม่ให้บริการช้อนส้อมแก่ผู้บริโภค ถ้าผู้บริโภคไม่ร้องขอ

ผู้บริโภค : ลดการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ หรือเลือกไม่รับอุปกรณ์การรับประทานอาหารต่างๆ

ผู้ผลิต/ภาครัฐ/อปท. : เร่งแก้กฎหมายให้ใช้บรรจุภัณฑ์อาหารจากพลาสติกรีไซเคิลได้ และส่งเสริมการผลิตถุงพลาสติกจากพลาสติกรีไซเคิลในสัดส่วนที่มากขึ้น

2.Replace

-แพลทฟอร์ม : เป็นตัวกลางหาผู้แทนจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

-ร้านค้า : เปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น บรรจุภัณฑ์จากวัสดุจากธรรมชาติ

-ผู้บริโภค : อุดหนุนร้านอาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

-ผู้ผลิต/ภาครัฐ/อปท. : ให้หน่วยงานภาครัฐอุดหนุน อาหารจากร้านที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำการแบน/เก็บภาษีพลาสติกและโฟม เพื่อให้บรรจุภัณฑ์ทางเลือกแข่งขันได้

3.Reuse

-แพลทฟอร์ม : เพิ่มโมเดลผูกปิ่นโต หรือใช้บรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำได้ผ่านแพลทฟอร์ม

-ร้านค้า : เพิ่มโมเดลผูกปิ่นโต หรือใช้บรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำได้กับลูกค้า

-ผู้บริโภค : สนับสนุนร้านอาหารที่มีโมเดลผูกปิ่นโต หรือใช้บรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำได้

ผู้ผลิต/ภาครัฐ/อปท. : ภาครัฐช่วยส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือบรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำได้

4.Recycle

-ผู้บริโภค : แยกเศษอาหารออกจากพลาสติกหรือบรรจุภัณฑ์ และรวบรวมทิ้งที่จุดรับส่งพลาสติกรีไซเคิล

-ผู้ผลิต/ภาครัฐ/อปท. : เพิ่มจุดทิ้งพลาสติกรีไซเคิลให้ทั่วถึงทั้งประเทศ และให้ อปท.แจกถุงขยะรีไซเคิลพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทุกครัวเรือนแยกขยะก่อนทิ้งอย่างจริงจัง

ที่มา :

1.https://ift.tt/3jp3B7V

2.https://ift.tt/32Hf2ku

3.https://ift.tt/34JQI4c

นพวรรณ สระแสงตา

ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

Let's block ads! (Why?)


August 30, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/3jsByog

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ขยะเดลิเวอรี่ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
https://ift.tt/2BaQsOR
Home To Blog

No comments:

Post a Comment