Pages

Saturday, September 5, 2020

แหวกฟ้าหาฝัน : Museum of Modernism Barcelona - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

suriyus.blogspot.com

วันอาทิตย์ ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2563, 08.15 น.

Museum of Modernism เมืองบาร์เซโลน่ามิวเซียมเอกชนที่เปิดตัวครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2010 นี้ มีประวัติย้อนไปราว 70 ปีจาก Fernando Pinos และMaria Guirao นักสะสมของเก่าสามี-ภรรยาที่เริ่มสะสมงานในช่วงที่ยังไม่มีใครให้ความสำคัญกับการสะสมของเก่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานของศิลปะของแคว้น Catalan งานที่ทั้งสองสะสมเป็นงานที่น่ากลัวอันเป็นผลมาจากการที่งาน Expressionism ซึ่งเป็นที่นิยมในห้วงเวลานั้นมีลักษณะเช่นนั้น ส่วนตึกรามบ้านช่องและงานศิลปะอื่นๆ ในช่วงเวลานั้นส่วนหนึ่งก็ถูกขายหรือถูกเก็บสะสมไปส่งผลให้ไม่มีงานวิจัยหรือการศึกษางานศิลปะในช่วงเวลานั้นอย่างจริงจังจนถูกลืมไปอยู่นานหลายปี

ปัจจุบันนักวิจัยรุ่นใหม่ได้เริ่มให้การศึกษาแนวทางศิลปะExpressionism ในฐานะศิลปะแนวใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะของแคว้น Catalan ซึ่งเป็นงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่แพ้งานของเมืองหรือประเทศอื่น ผลงานศิลปะที่ Fernando Pinos และ Maria Guirao เก็บสะสมจึงกลายเป็นแหล่งการศึกษาวิจัยชั้นดีและกลายมาเป็น Museum of Modernism Barcelona ที่เปิดบริการให้คนทั่วไปได้ชื่นชมงานศิลปะในที่สุด ส่วนสถานที่ตั้งมิวเซียมที่อยู่ในตึกที่Enric Sagnier ออกแบบไว้ในปี 1902 นั้นอยู่ในย่านที่ทันสมัยและเต็มไปด้วยอาคารรุ่นใหม่ภายใต้การวางแผนของ Ildefons Cerda นักออกแบบผังเมืองที่ออกแบบการขยายเมืองบาร์เซโลน่าให้ใหญ่โตและทันสมัยขึ้นในช่วงสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่อสะท้อนความมีอัตลักษณ์ของแคว้น Catalan

อาคารที่เคยเป็นโกดังเก็บผ้าที่ชื่อ Fabra & Coats และถูกปรับปรุงให้เป็นที่จัดแสดงงานศิลปะซึ่งเน้นงานเก็บหลังคาโค้งของสถานที่รอบๆ อาคารบริเวณ Passage de Gracia และ Rambla Catalunya นี้อยู่ไม่ไกลจากอาคารที่ถูกออกแบบโดยสถาปนิกดังๆ ชาวพื้นเมือง อาทิ Antoni Gaudi, Lluis Domenech I Muntaner และ Josep Puig I Cadafalch การที่อาคารได้ Enric SagnierI Vilavecchia สถาปนิกชาวพื้นเมืองที่ออกแบบอาคารมากว่า 300 แห่ง จนเป็นสถาปนิกที่โด่งดังที่สุดในช่วงเวลานั้นมาเป็นผู้ออกแบบทำให้อาคารนี้ได้รับการออกแบบอย่างวิจิตรบรรจงภายใต้สถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่าง Classicism, Historicism และ Modernism สมกับการเป็น Museum of Modernism

Modernism เป็นการเคลื่อนไหวทางศิลปะที่เริ่มขึ้นในยุโรปในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยรากฐานและสุนทรียภาพเน้นไปในการเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของศิลปะที่ผสมผสานกับธรรมชาติเพื่อให้เกิดสัญลักษณ์ใหม่ ในการตอบสนองต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองนี้ศิลปินต้องการให้แนวทางศิลปะตอบสนองต่อการเริ่มต้นยุคใหม่อย่างแท้จริงโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการมีปฏิสัมพันธ์กันของคนในสังคมและการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อเสริมอำนาจและอิทธิพลของชนชั้นกลางรุ่นใหม่

วิวัฒนาการของ Modernism ในยุโรปในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันอันเป็นผลมาจากการยอมรับและอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น ควาเปลี่ยนแปลงในแต่ละประเทศจึงแตกต่างกันทั้งในด้านรูปแบบ บุคลิกภาพ ตามแต่ลักษณะของประเทศไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส เบลเยียม อังกฤษ ออสเตรียรวมทั้งสเปน เอง การเคลื่อนไหวทางศิลปะในแคว้น Catalan ก็ไม่เพียงอิงอยู่บนพื้นฐานของสุนทรียภาพ แต่ยังขยายไปยังเมืองใกล้เคียงด้วย ต้นกำเนิดModernism ของแคว้นเกิดจากงานนิทรรศการ Barcelona Universal Exposition ในปี 1888 แม้ว่าแนวทางศิลปะแบบ Expressionismจะได้ถือกำเนิดและปรากฏขึ้นในเมืองมาก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม ศิลปินใหม่ในช่วงเวลานั้นได้แสดงงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์หลากหลายอันเป็นผลจากการที่พวกเขามีอิสระอย่างเต็มที่ในการแสดงผลงานจากการส่งเสริมของสถาบันการศึกษา รูปร่างหน้าตาของที่อยู่อาศัย อาคาร สิ่งแวดล้อม และวัตถุที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั้งในด้านการใช้งานและสุนทรียภาพได้เปลี่ยนแปลงจนเกิดการเลียนแบบจนเป็นไปตามความสามารถของชาวเมืองที่สามารถเข้าถึงสังคมโลก

นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบงานแนว modern มากๆ ที่ได้มีโอกาสมาเยือนมิวเซียมแห่งนี้อาจรู้สึกผิดหวังและแปลกใจ เพราะที่นี่ไม่ได้มีงานแนว modern มากนักสมชื่อ ของจัดแสดงส่วนใหญ่เป็นงานแนว Art Nouveau ของศิลปิน Catalan เป็นส่วนใหญ่ แต่รับรองได้ว่า หากได้มาเยือนจะประทับใจกับของจัดแสดงมากมาย อีกทั้งยังสามารถสนุกสนานกับการถ่ายภาพได้อย่างไม่รู้เบื่อเลยทีเดียว

Museum of Modernism Barcelona

Museum of Modernism Barcelona

ร้านขายของที่ระลึกในมิวเซียม

ร้านขายของที่ระลึกในมิวเซียม

inside museum

inside museum

Let's block ads! (Why?)


September 06, 2020 at 08:15AM
https://ift.tt/320TpMT

แหวกฟ้าหาฝัน : Museum of Modernism Barcelona - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
https://ift.tt/2BaQsOR
Home To Blog

No comments:

Post a Comment