ภูเก็ตคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านแรงงาน ลงพื้นที่พบปะผู้ประกอบการสปาในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อรับทราบปัญหาในการดำเนินกิจการหลังโควิด 19 นำเสนอต่อวุฒิสภาส่งต่อไปยังรัฐบาล เพื่อเร่งหาแนวทางเยียวยาผู้ประกอบการและกลุ่มแรงงานให้เดินหน้าต่อไป
เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ สุโขสปา รีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต นายจรินทร์ จักกะพาก รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านแรงงาน ในคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา พร้อมคณะ ลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากผู้ประกอบการภาคบริการในธุรกิจสปาในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต หลังวิกฤติโควิด-19 โดยมี นางรัตนดา ชูบาล นายกสมาคมสปาเพื่อสุขภาพจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย นางฐานิตา วาณิชชุติกุล ประธานชมรมผู้ประกอบการร้านนวดจังหวัดภูเก็ต นายนิธิธร เทพบุตร กรรมการผู้จัดการสุขโขสปา รีสอร์ท และผู้ประกอบการสปา ร่วมสะท้อนปัญหาและเสนอแนวทางให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการและกลุ่มแรงงานในธุรกิจสปา ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19
นางฐานิตา วาณิชชุติกุล ประธานชมรมผู้ประกอบการร้านนวดจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและภาคแรงงานอย่างมาก ซึ่งภาคธุรกิจต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเร่งด่วนคือเรื่องภาวะหนี้สิน ในการพักชำระหนี้อย่างจริงจัง เนื่องจากผลกระทบจากภาวะวิกฤติที่ต้องเร่งให้การช่วยเหลือ เพราะขณะนี้จังหวัดภูเก็ตมีรายได้เป็นศูนย์ จากที่เคยมีรายได้เป็นแสนแสนล้านบาท ส่งผลต่อภาวะดอกเบี้ยที่กำลังจะเกิดขึ้นจากวิกฤติโควิด ในขณะที่ผู้ประกอบการไม่ต้องการให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด
นางรัตนดา ชูบาล นายกสมาคมสปาเพื่อสุขภาพจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า นอกจากการพักชำระหนี้แล้ว สิ่งที่ภาคธุรกิจและกลุ่มแรงงานต้องการคืองาน เพื่อจะได้สร้างคนและสร้างงานให้กลับมาโดยเร็ว รวมทั้งการปล่อยเงินกู้ตามที่เคยยื่นกู้กลับมา เพื่อการขับเคลื่อนของธุรกิจและการจ้างงานต่อไป
นายจรินทร์ จักกะพาก รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านแรงงาน ในคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา กล่าวว่า การลงพื้นที่พบผู้ประกอบการสปา เนื่องจากกิจการสปาและการนวดถือเป็นเอกลักษณ์ไทย ที่ได้รับการนิยมจากต่างชาติสูงมากและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ และจังหวัดภูเก็ตเป็นแหล่งใหญ่ที่มีผู้ประกอบการประมาณ 400 กว่าแห่ง และมีแรงงานในกลุ่มนี้ประมาณ 20,000 คน เป็นรายได้หนึ่งที่สร้างให้กับจังหวัดสูง จึงต้องลงมารับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งถือเป็นการสะท้อนภาพ โดยพบว่าประสบปัญหาเหมือนกันกับกิจการอื่นๆ แต่ภาคเอกชนในจังหวัดให้ความร่วมมือกันดี รวมทั้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่มีการดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถือเป็นวิกฤตเป็นโอกาสที่เราได้สามัคคีซึ่งกันและกัน
สำหรับ ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเช่นการบริการภาครัฐในเรื่องของการประกันสังคม การของเงินทุนหมุนเวียน การพักชำระหนี้ เป็นปัญหารวมของทุกธุรกิจที่เหมือนกัน ทางสมาชิกวุฒิสภาจะสรุปปัญหาเหล่านี้เสนอต่อรัฐบาล เพื่อหาทางออกที่ดีขึ้นโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม จากสภาวะเช่นนี้ถือเป็นสภาวะที่ไม่เหมือนเดิม จึงอยากให้ทุกฝ่ายมีการปรับตัว เช่น การปรับตัวในธุรกิจ การปรับตัวด้านความเป็นอยู่ของคน ที่จะต้องประหยัดมากขึ้น เพื่อลดรายจ่ายในชีวิตประจำวัน และหาทางเลือกใหม่ของชีวิตที่สามารถอยู่กับตัวเองมากขึ้น โดยการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ แต่จะต้องมีความมั่นใจในตัวเอง เพื่อที่จะสามารถผ่านวิกฤตไปได้ด้วยกัน ซึ่งจะช้าหรือเร็วแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับความร่วมมือซึ่งกันและกัน
September 12, 2020 at 07:50PM
https://ift.tt/2ZsoA2b
คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านแรงงานเร่งเยียวยาผู้ประกอบการภูเก็ต - เสียงใต้รายวัน
https://ift.tt/2BaQsOR
Home To Blog
No comments:
Post a Comment