Pages

Monday, August 31, 2020

ธุรกิจผนึกกำลังดันศก.ยั่งยืนระดม 1.2 ล้านล้านฟื้นวิกฤติ - กรุงเทพธุรกิจ

suriyus.blogspot.com

1 กันยายน 2563

192

สมาคมเครือข่ายโกลบอล คอมแพ็กฯ ประกาศเจตนารณ์ ทุ่ม1.2 ล้านล้านบาทใน10ปี พัฒนาความยั่งยืน ปลดล็อกวิกฤติเศรษฐกิจ สอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ “ศุภชัย” ระบุเป็น“ทศวรรษแห่งการลงมือทำจริงจัง” 

เมื่อวันที่ 31ส.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน "GCNT FORUM 2020 :Thailand Business Leadership for SDGs ในโอกาสฉลองครบรอบ 20 ปี เครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งสหประชาชาติ และครบรอบ 75 ปี ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations - UN)

งานดังกล่าวจัดโดย สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานผู้แทนสหประชาชาติประจำประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ และผู้สนับสนุนของสมาคมฯ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรสมาชิกของสมาคมฯ ผนึกกำลังเพื่อร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี พร้อมผู้แทนสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย ยังร่วมเป็นสักขีพยานการประกาศเจตนารมณ์ขององค์กรสมาชิกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ให้คำมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และจะลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนรวม 998 โครงการ มูลค่ารวมอย่างน้อย 1.2 ล้านล้านบาท ภายในปี 2573

นายกฯชูศก.พอเพียงภูมิคุ้มกันชาติ

นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “วิถีคิดผู้นำในสถานการณ์วิกฤติ ประสบการณ์จากสถานการณ์โควิด-19” โดยเน้นย้ำความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน ว่า “ประเทศไทยโชคดีที่มี “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ สร้างความเข้มแข็งจากภายในและฐานราก ซึ่งสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

โดยให้ความสำคัญกับ “การพัฒนาคน” และ “ความมั่นคงของมนุษย์”เพื่อให้ทุกคนในชาติมีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม 

ชื่นชมบทบาทภาคเอกชน

พร้อมยังชื่นชมบทบาทของภาคเอกชนในการสร้างความตระหนักรู้และร่วมมือกันบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) ต่างๆ โดยเฉพาะเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (เป็นส่วนหนึ่งของ

เครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งสหประชาชาติ) สามารถมีบทบาทสำคัญได้อย่างแน่นอน ในการระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ สอดคล้องกับหลักการที่เป็นสากล10ประการของสหประชาชาติ ทั้งในด้านสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต เป็นต้น

โดยในส่วนของรัฐบาลไทยถือเป็นพันธมิตรสำคัญในการฟื้นฟูประเทศให้ดีขึ้นจากวิกฤติโควิด-19  โดยนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ มายึด โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนเป็นรากฐานที่เข้มแข็งของสังคมและธุรกิจ

“3หมุดหมายฝ่าวิกฤติยั่งยืน 

นายกรัฐมตรี ยังกล่าวว่า ภายใต้ความปกติใหม่ (นิวนอร์มอล) แนวทางที่รัฐบาลจะดำเนินการประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1.การผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมวางอนาคตของประเทศไทย โดยนำทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดอนาคตของประเทศ มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” แก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ 2.เปิดให้มีการประเมินผลงานภาครัฐ และ3.การทำงานเชิงรุก แบบบูรณาการข้ามหน่วยงาน กระทรวง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง 

"การนำพาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤติอันท้าทาย รัฐบาลต้องดึงศักยภาพของประเทศออกมาใช้ โดยระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ให้ความสำคัญกับ3ด้าน คือระบบสาธารณสุขเข้มแข็ง,การรับมือกับความท้าทายด้านเศรษฐกิจโดยแก้ปัญหาเร่งด่วนมาเป็นลำดับมีมาตรการเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาประชาชนและเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านเงินกู้วงเงิน1ล้านล้านบาท และ3.ใช้วิกฤติสร้างโอกาสนำพาประเทศไปสู่การเปลี่ยนแปลง ฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

จี้เอกชนผนึกลงทุน BCG 

นายกรัฐมนตรี ยังย้ำว่า รัฐบาลไทยกำลังขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ที่เรียกว่า “Bio-Circular-Green Economy” หรือ BCG คือการส่งเสริมเศรษฐกิจใหม่ ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยการน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งจากภายในเชื่อมไทยสู่โลก วางรากฐานพัฒนาคุณภาพใน 5 มิติ ได้แก่ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสาธารณสุข ความมั่นคงทางพลังงาน หลักประกันการมีงานทำ และความยั่งยืนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดยภาคเอกชนควรตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล โดยร่วมมือสร้างความแข็งแกร่งภายในร่วมลงทุน นำมาต่อยอด ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีสร้างนวัตกรรมไทย รวมถึงใช้ภูมิปัญญาไทย รวมถึงการพัฒนาโดยใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า ร่วมกันประสานงานกันทุกภาคส่วน”

“ผมพร้อมจะรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกคน โดยเฉพาะเยาวชน หากมีมุ่งหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนประเทศไทยในทางที่ดีขึ้น เพื่อที่เราจะสามารถก้าวข้ามวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน” 

เครือข่ายยั่งยืนใหญ่สุดไทย

นายศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมโกลบอลคอมแพ็ก แห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand Thailand -GCNT) เครือข่ายด้านความยั่งยืนใหญ่ที่สุดในไทย กล่าวปาฐกถาว่า เครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วย สมาชิกกว่า12,000 องค์กร ใน 156 ประเทศ ก่อตั้งขึ้นครบ20ปี เพื่อระดมพลัง ของภาคเอกชนทำธุรกิจคำนึงถึงเพื่อนมนุษย์ หรือ “เอาใจเขา มาใส่ใจเรา” ภายใต้หลักสากล 10 ประการ ครอบคลุมเนื้อหา 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิมนุษยชน สิทธิของแรงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต 

โดยปัจจุบันในไทยมีสมาชิกเกือบ 60 องค์กร มูลค่าบริษัทสูงถึงประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่ามีศักยภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน ทั้งในไทยและในทุกประเทศที่บริษัทสมาชิกลงทุน

โควิดท้าทายเป้าหมายพัฒนายั่งยืน 

ทั้งนี้ ถือเป็นความท้าทายเมื่อเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 เข้ามาซ้ำเติมส่งผลทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องระดมสรรพกำลังให้ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนายั่งยืน 17 ข้อ ของสหประชาชาติภายในปี2573 หรือ ในอีก10ปีข้างหน้า ถือเป็น “ทศวรรษแห่งการลงมือทำอย่างจริงจัง”  ผลักดันให้โลก“พื้นตัวได้ดีกว่าเดิม”โดยไทยถือเป็นผู้นำในอาเซียนที่ร่วมมือกับสหประชาชาติ สร้างความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะสิ่งที่ไทยได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการร่วมแรงร่วมใจฝ่าวิกฤติ ทำให้มีการติดเชื้อโควิด และสูญเสียชีวิตน้อยมากเมื่อเทียบนานาประเทศ ซึ่งเกิดจากผู้นำประเทศกล้าตัดสินใจ มีนโยบายเด็ดขาด ชัดเจน จึงทำให้ก้าวผ่านวิกฤติมาได้สำเร็จ 

ทุ่ม1.2ล้านล้านลุยศก.ยั่งยืน

ทั้งนี้สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยสมาชิกทั้งภาคธุรกิจ สมาคม มูลนิธิและองค์กรไม่แสวงหากำไรกว่า 21 องค์กร พร้อมวางแผนลงทุนใน 998 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวม 1.262 ล้านล้านบาท ใน10ปีข้างหน้า(ปี2573)ฟื้นฟู และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เป็นผู้นำสร้างการเปลี่ยนแปลง ให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์สุข และตระหนักรู้ถึงปัญหาร่วมประกาศเจตนารมณ์แสดงพลังของภาคเอกชนไทยและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมแสดงจุดยืนปรับตัว รับมือกับความท้าทายของวิกฤติ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ดึงพันธมิตรจากทุกภาคส่วนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม 

ยูเอ็นเรียกร้องธุรกิจมีส่วนร่วม

นางแซนด้า โอเจียมโบ ผู้อำนวยการบริหารของสหประชาชาติ  เครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งสหประชาชาติ

กล่าวถ้อยแถลงผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ว่า การจัดงานครั้งนี้เหมาะสมกับช่วงสถานการณ์ปัจจุบันอย่างมาก ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบให้กับเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งท้าทายการดำเนินงานของภาคธุรกิจ

“ภายใต้การบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2030 ด้วยคำสัญญาว่า จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ดังนั้น จึงขอเรียกร้องภาคธุรกิจแสดงความเป็นผู้นำท่ามกลางวิกฤติระบาดโควิด-19 ได้รักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจไว้ ช่วยพื้นฟูเศรษฐกิจ และบรรเทาความเดือดร้อนให้ดีและเร็วยิ่งขึ้น”

นางสาวกีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติ (ยูเอ็นอาร์ซี) ประจำประเทศไทย กล่าวในหัวข้อ "ยูเอ็นจะร่วมมือกับภาคเอกชนไทยอย่างไร เพื่อสนับสนุนความพยายามของประเทศไทยได้บรรลุวาระการพัฒนาสู่ความยั่งยืนปี 2573 ว่า พร้อมร่วมมือผนึกกำลังกับภาคธุรกิจไทยมุ่งมั่นดำเนินงานให้บรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นไปตามกรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ” เพื่อให้ 20 ปีของการประสานงานภาคธุรกิจได้สร้างโลกดีกว่าเดิม

Let's block ads! (Why?)


September 01, 2020 at 11:07AM
https://ift.tt/2YQw12X

ธุรกิจผนึกกำลังดันศก.ยั่งยืนระดม 1.2 ล้านล้านฟื้นวิกฤติ - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/2BaQsOR
Home To Blog

No comments:

Post a Comment