ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพมนุษย์
วันที่ 13 ก.ค. 2563 เวลา 07:07 น.
จิตใจ ปัญญา อารมณ์ และภาวะผู้นำ มิติทั้ง 4 ที่ประสานเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้ หัวใจของยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพมนุษย์อย่างยั่งยืน
ความท้าทายและผลกระทบกระแสการเปลี่ยนแปลงโลกทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเฉพาะการระบาดของไวรัสโควิด 19 และโอกาสการกลับมาระบาดซ้ำ ทำให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเป็นวงกว้าง และได้สร้างความตระหนักถึงความจำเป็นต่อการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญเพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านการแข่งขันและเพื่อความอยู่รอดขององค์กรธุรกิจอย่างยั่งยืน
ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล จากสถาบันอินทรานส์ Hipot - การปฏิรูปศักยภาพมนุษย์อย่างบูรณาการ ศาสตร์ชีวิตองค์รวมเพื่อความมั่นคง ยั่งยืน เผยว่า ทางออกของปัญหาแต่ทุกวันนี้ เราลงทุนด้านการพัฒนาคนมากมายเพื่อหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ผลที่ได้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง อีกทั้งยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง ไม่เป็นรูปธรรม และไม่ยั่งยืน ดังนั้น เพื่อความยั่งยืน การพัฒนาจึงต้องก้าวข้ามจากมุมมองแค่การปรับเปลี่ยน (Change) มาเป็นการปฏิรูป (Transformation)
และกระบวนการปฏิรูปเพื่อยกระดับศักยภาพมนุษย์อย่างยั่งยืนนั้น เราจำเป็นต้องสร้างฉากทัศน์ของการพัฒนาขึ้นมาใหม่อย่างเป็นองค์รวม ครอบคลุมทุกมิติชีวิต ได้แก่ จิตใจ ปัญญา อารมณ์ และภาวะผู้นำ กล่าวคือ
ฉากทัศน์ด้านจิตใจ เมื่อพิจารณาถึงมิติด้านจิตใจ ฐานรากของการพัฒนาในมิตินี้คือ "กรอบความคิด" กรอบความคิดคือแหล่งที่มาของศักยภาพภายใน แรงบันดาลใจ แรงขับเคลื่อนภายใน แต่ขีดความสามารถใดๆ ที่แสดงออกมานั้น ยังไงก็ไม่เกินกรอบความคิด หากต้องการจะยกศักยภาพ เราต้องเปลี่ยนกรอบความคิดใหม่ กรอบความคิดเปลี่ยนได้ กรอบความคิดเป็นของตนเอง เราจึงมีอำนาจเหนือมัน เมื่อเรามีอำนาจเหนือมัน เราจึงควบคุมมันได้ นั่นคือเราสามารถเลือกตอบสนองได้เมื่อมีเหตุการณ์อะไรมากระทบ เมื่อเราเลือกได้ นั่นคือเราสามารถนำตนเองได้ หากเรานำตนเองได้ เราก็เปลี่ยนตนเองได้ เพื่อเล่นเชิงรุก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนจึงต้องเริ่มที่ตนเองก่อนเสมอ คุณสมบัติในการนำตนเองนี้เองคือ ฐานรากที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน
ฉากทัศน์ด้านปัญญา เมื่อพูดถึงมิติด้านปัญญา ฐานรากของการพัฒนาปัญญาคือ "แนวคิดเชิงระบบ" แนวคิดเชิงระบบคือการเห็นความจริงว่า ความรู้ใดๆ เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงขององค์ประกอบ ดังนั้น ความคิดสร้างสรรค์จึงเกิดจากการเชื่อมโยงที่หลากหลายขององค์ประกอบที่แตกต่าง นอกจากนี้ การคิดเชิงระบบยังช่วยให้เข้าใจว่าปัญหาต่างๆ มันเป็นระบบซ้อนระบบ ปัญหาทับซ้อนปัญหา ทุกปัญหาล้วนเชื่อมโยงและส่งผลถึงกันอย่างเป็นหนึ่งเดียว การรับมือกับปัญหาจึงต้องเปิดมุมมองใหม่ โดยต้องเป็นการแก้ปัญหาเชิงระบบที่ซับซ้อน
ฉากทัศน์ด้านอารมณ์ เมื่อพิจารณาถึงมิติด้านอารมณ์ ฐานรากอันเป็นที่มาของอารมณ์คือ "ตัวตน" ตัวตนต้องการคุณค่าและความหมาย เมื่อพิจารณาถึงในทุกขณะที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยความหมายที่แท้จริงแล้ว โลกของตัวตนภายในกำลังก้องสะท้อนระหว่างกันอยู่ ทั้งต่อตนเองและกับบุคคลอื่น
ในกรณีของการก้องสะท้อนที่มีต่อตนเอง การเห็นคุณค่าตนเองจะนำไปสู่ความมั่นคงทางอารมณ์ มีความเชื่อมั่นภายในมั่นคง มีความเข้มแข็ง มีภูมิต้านทาน ยืนหยัด อดทนและสามารถปลดปล่อยศักยภาพตนเองออกมาได้อย่างเต็มที่
ในกรณีของการก้องสะท้อนที่มีต่อบุคคลอื่น การเห็นคุณค่าในความแตกต่างจะนำไปสู่การเปิดใจกว้างรับฟัง เกิดความเข้าใจ ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นที่มีต่อกัน และศรัทธาภาวะนี้จึงจะสามารถระเบิดศักยภาพทีมงานออกมาเสริมกันได้อย่างมีพลังร่วม มีเอกภาพ เป็นหนึ่งเดียว
ฉากทัศน์ด้านภาวะผู้นำ เมื่อพิจารณาถึงมิติด้านภาวะผู้นำ คุณสมบัติอันเป็นฐานรากของมิตินี้คือ "คุณค่าความเป็นมนุษย์" การจะสร้างการเปลี่ยนแปลงและนำองค์กรให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันได้นั้นต้องการผู้นำ ภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อตน (ในฐานะผู้นำ) ต้องได้รับการยอมรับจากทีมงานหรือผู้ตาม และบุคคลจะยอมรับใครว่ามีภาวะผู้นำ ก็ต่อเมื่อตน (ในฐานะผู้ตาม) ต้องได้รับการยอมรับเสียก่อน มันคือการยอมรับในคุณค่าและความหมายของความเป็นมนุษย์ เพราะใครก็ตามเห็นและยอมรับว่าฉันมีค่า ฉันก็เห็นและยอมรับว่าเขามีค่าเช่นกันภาวะนี้เท่านั้นที่ภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นได้
การสร้างฉากทัศน์ยุทธศาสตร์ การพัฒนาศักยภาพมนุษย์อย่างยั่งยืน ในการสร้างฉากทัศน์ของการยกระดับขีดความสามารถของมนุษย์เพื่อความยั่งยืนนั้นต้องเริ่มด้วยมิติด้านจิตใจที่เห็นความจริงว่า การเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องเริ่มที่การปรับตนเองก่อนเสมอ ด้วยการปรับกรอบความคิดตนเองเพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวก สามารถระเบิดศักยภาพจากภายในเพื่อสร้างการนำตนเอง เพื่อเล่นเชิงรุก ทั้งนี้ ในการเล่นเชิงรุกเพื่อยกระดับขีดความสามารถในด้านการแข่งขันนั้นต้องใช้มิติที่ 2 คือ ปัญญา ปัญญามาจากแนวคิดเชิงระบบด้วยมุมมองที่ว่า ความรู้ใดๆ มาจากการสร้างความเชื่อมโยงที่หลากหลายขององค์ประกอบที่แตกต่าง บุคคลจึงสามารถจัดการกับปัญหาเชิงซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถสร้างมุมมองเชิงองค์รวมเพื่อสร้างนวัตกรรมที่แปลกใหม่ที่มีคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ
ด้วยการปรับเปลี่ยนทั้งมิติด้านจิตใจและปัญญา บุคคลจึงสามารถยกระดับตนเองทั้งภายในและภายนอก แต่ในโลกแห่งการมีปฏิสัมพันธ์กันนั้น การที่บุคคลจะสามารถทำงานร่วมกันได้ มิติที่ต้องพิจารณาต่อมาคือ อารมณ์ คุณสมบัติหนึ่งด้านอารมณ์คือ ศรัทธาศรัทธาจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการที่บุคคลต้องเห็นคุณค่าระหว่างกัน มันคือ การเห็นคุณค่าในความแตกต่างแต่การที่บุคคลจะให้ศรัทธากับบุคคลอื่น บุคคลคนนั้นต้องศรัทธาตนเองก่อน นั่นคือ เขาต้องเห็นคุณค่าตนเองก่อนเสมอการเห็นคุณค่าตนเอง บุคคลจึงสามารถสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงภายใน มีภูมิต้านทาน จึงจะสามารถระเบิดศักยภาพภายในตนเองออกมาได้อย่างเต็มที่และการเห็นคุณค่าในความแตกต่างจึงเป็นที่มาของการระเบิดศักยภาพทีมงานอย่างมีพลังร่วม
ในการทำงานเป็นทีม ธรรมชาติขององค์กรย่อมต้องมีผู้นำ ผู้ตามและภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นได้ต้องตั้งอยู่บนฐานของการเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องการกำลังใจ การยอมรับ การให้เกียรติ การมอบอำนาจ การให้ความสำคัญ เมื่อบุคคลได้รับการเห็นคุณค่า เขาย่อมให้คุณค่าตอบเพราะใครก็ตามเห็นฉันมีค่า ฉันก็เห็นเขามีค่าเช่นกัน ภาวะผู้นำจึงเกิดขึ้น สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทีมงานให้ไปในแนวเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ
จะเห็นว่า ฉากทัศน์ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพมนุษย์อย่างยั่งยืนจะต้องประกอบด้วยมิติทั้ง 4 คือ จิตใจ ปัญญา อารมณ์ และภาวะผู้นำที่บุคคลสามารถสร้างการนำตนเอง เล่นเชิงรุก ด้วยกรอบความคิดเชิงบวกสามารถแก้ปัญหาเชิงซับซ้อนและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีคุณค่าด้วยแนวคิดเชิงระบบสามารถสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ด้วยการเห็นคุณค่าตนเองสามารถสร้างทีมงานที่มีความเข้มแข็งอย่างมีพลังร่วมด้วยการเห็นคุณค่าในความแตกต่างและสามารถนำทีมงาน สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นเอกภาพด้วยการเห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์
เพราะมิติทั้ง 4 ประสานเชื่อมโยง ถักทอหลอมรวมกันเป็นร่างแหอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้
July 13, 2020 at 07:29AM
https://ift.tt/3j44mnJ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพมนุษย์ - โพสต์ทูเดย์ work-life-balance - โพสต์ทูเดย์
https://ift.tt/2BaQsOR
Home To Blog
No comments:
Post a Comment