Pages

Sunday, July 26, 2020

มาทำความรู้จัก Freelance กันเถอะ - Businesstoday

suriyus.blogspot.com

ถ้าจะตั้งคำถามว่า ใครรู้จักอาชีพ Freelance บ้าง เชื่อว่าหลายคนยกมือตอบรับ เพราะFreelance ครองพื้นที่ในตลาดการจ้างานในเมืองไทยมานานซักระยะหนึ่งแล้ว แม้หลายคนจะบอกว่ารู้จักอาชีพนี้แล้ว

แต่เชื่อว่าน้อยคนจะรู้จักอาชีพนี้อย่างดีพอ คนส่วนใหญ่ยังสับสนอยู่ว่า อาชีพนี้ทำอะไรกันแน่ สภาพการทำงานที่แท้จริงเป็นอย่างไร วันนี้เลยจะมาชวนทำความรู้จักกับอาชีพ Freelance อย่างจริงจัง เผื่อวันหนึ่งคุณผู้อ่านจะอยากเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวงการนี้บ้าง

คำว่า Freelance ใช้ทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ พจนานุกรมแปลเป็นไทยว่า “คนทำงานอิสระที่ไม่ได้รับเงินเดือนประจำ” นั่นก็แปลว่า Freelance ไม่ใช่อาชีพ แต่เป็นการจ้างงานรูปแบบหนึ่ง ซึ่งคนทำงานไม่ต้องผูกพันตัวเองและเวลาทำงานทั้งหมดไว้กับบริษัทหรือหน่วยงานใดเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

- Advertisement -

หลายปีมานี้จำนวน Freelance ทั้งในไทยและต่างประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากปัจจัย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ทำให้การทำงานสะดวกขึ้น กลุ่มคน Gen Y ซึ่งกำลังจะกลายเป็นคนกลุ่มใหญ่ในตลาดแรงงาน และ Gen M ที่เดินเข้าสู่ตลาดแรงงานในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ มีทัศนคติต่อการทำงานแตกต่างจากคนรุ่นเก่า ไม่ยึดติดกับการจ้างงานประจำ และไม่ต้องอยู่ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรใดๆ

ประกอบกับการที่ Freelance สามารถเรียกค่าตอบแทนได้เองให้เหมาะสมกับประสบการณ์และความสามารถ จึงเป็นแรงดึงดูดให้มืออาชีพในสายงานต่างๆ ผันตัวออกจากองค์กรมาเป็น Freelance กันอย่างคึกคัก นอกจากนี้การเป็นFreelance ยังให้ความรู้สึกอิสระด้านการจัดการเวลาได้ด้วยตัวเอง

จุดเด่นอีกประการของ Freelance ที่อยากเน้นย้ำกัน เพราะเกี่ยวพันกับความอยู่รอด คือการที่ Freelance แต่ละคนสามารถทำงานให้ลูกค้าหลายเจ้าได้ในเวลาเดียวกัน ตรงนี้นับเป็นเสน่ห์สูงสุด โดยเฉพาะ Freelance ที่มีพลังงานเยอะๆ มีความสามารถในการจัดการสูง ก็จะสามารถรับงานได้ในปริมาณที่มากขึ้นในเวลาที่มีเท่าๆกันกับคนอื่นๆ  และในขณะเดียวกัน จุดนี้ก็เป็นจุดที่ทำให้ Freelance ต่างจากการเป็นพนักงานประจำไปด้วยเช่นกัน

กล่าวสั้นๆ ก็คือ พนักงานประจำทำงานเต็มเวลาให้นายจ้างเพียงหนึ่งเดียว แต่ Freelance สามารถใช้เวลาที่มีทั้งหมดของตัวเอง ผลิตผลงานให้นายจ้างหลายๆ คนได้พร้อมกัน

ตัวอย่าง Freelance ในตลาดการจ้างงานของไทยก็มีอยู่ในหลากหลายวงการ เช่น โปรแกรมเมอร์ในวงการ IT นักแสดงในวงการบันเทิง นักเขียนในวงการหนังสือ ที่ปรึกษาในวิชาชีพต่างๆ เช่น ที่ปรึกษากฎหมายแรงงาน ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาธุรกิจ ฯลฯ

Freelance, Part-time, Outsource และ Contract ต่างกันอย่างไร

หลายคนยังสับสนระหว่าง Freelance กับการทำงานแบบ Part-time คำว่า Part-time โดยมากใช้กับการทำงานที่มีกำหนดเวลาชัดเจน แม้ไม่เต็ม 8 ชม. แต่จะมีกำหนดเวลาเข้า-ออกงานที่ชัดเจน และต้องไปทำงานในสำนักงาน ร้านค้า หรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง

จุดนี้จะเห็นได้ว่า แม้คนที่ทำงาน Part-time อาจมีอิสระด้านเวลามากกว่าคนทำงานประจำ แต่ก็ยังไม่ใช่ความอิสระในมุมของการเป็น Freelance ซึ่งสามารถจัดเวลาทำงานของตัวเองได้เต็มร้อย และทำงานจากที่ไหนก็ได้ตามความต้องการของงานและตัว Freelance เอง

อีกคำหนึ่งที่มักใช้ทับซ้อนกับ Freelance ก็คือ Outsource ทั้งสองคำนี้มีความใกล้ชิดกันมากในทางปฏิบัติ เพราะเป็นการจ้างงานคนที่ไม่ได้อยู่ในองค์กรให้ทำงานให้เหมือนกัน ความแตกต่างที่ชัดเจนของสองคำนี้คือ คำว่า Outsource โดยเริ่มต้นนั้นเป็นวิธีการจ้างงาน หมายถึง การเอางานบางส่วน บางชิ้น หรือแม้กระทั่งทั้งชิ้นที่มีอยู่ในบริษัทของเรา ไปจ้างให้บริษัทอื่นหรือบุคคลอื่นที่อยู่นอกบริษัทเราเป็นคนทำให้ ซึ่งบริษัทหรือบุคคลอื่น ซึ่งในลักษณะนี้ Freelance อาจเป็นบุคคลที่ถูกจ้างในลักษณะ Outsourcing ได้เช่นกัน

ยังมีการจ้างงานอีกกรณีหนึ่งที่หลายบริษัทมักใช้เหลื่อมกับการจ้างงานแบบ Freelance คือ การจ้างเป็น Contract หรือการจ้างภายใต้สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน อาจเป็น 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี หรือมากกว่าก็เป็นได้ ขึ้นกับความต้องการของงานหรืองบประมาณที่มี

ส่วนใหญ่มักใช้กับงานโครงการที่มีระยะเริ่ม-สิ้นสุดชัดเจน พนักงานสัญญาจ้างแบบนี้ยังถูกจัดว่าเป็นพนักงานประจำ โดยทั่วไปจะมีเวลาปฏิบัติงานตามเวลาทำงานปกติของหน่วยงานนั้นๆ เช่น ทำ 5 วัน/สัปดาห์ วันละ 8 ชั่วโมง เป็นต้น

ตรงนี้เกี่ยวพันกับประเด็นการจ้างงานและเงื่อนไขการจ้างที่นายจ้างหลายแห่งยังมีความสับสน อีกทั้งยังมีประเด็นเรื่องความคุ้มครองทางกฎหมายที่แตกต่างกัน แล้วจะมาคุยให้ฟังกันใหม่ในครั้งต่อๆ ไปนะคะ

Let's block ads! (Why?)


July 26, 2020 at 08:57AM
https://ift.tt/2WXQpxW

มาทำความรู้จัก Freelance กันเถอะ - Businesstoday
https://ift.tt/2BaQsOR
Home To Blog

No comments:

Post a Comment