Pages

Friday, May 29, 2020

เสร็จศึกพรก. เดินหน้าสู่โหมดฟื้นศก. - ฐานเศรษฐกิจ

suriyus.blogspot.com

คอลัมน์อยู่บนภู ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3579 ระหว่างวันที่ 31 พ.ค.- 3 มิ.ย.2563 โดย... กระบี่เดียวดาย

          การอภิปราย พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 รวมทั้งพ.ร.ก.ให้แบงก์ชาติปล่อยสินเชื่อซอฟท์โลน 5 แสนล้านผ่านสถาบันการเงิน และพ.ร.ก. 4 แสนล้าน ดูแลตลาดตราสารหนี้ 2-3 วันที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรที่จะระคายผิว รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้

          แม้จะมีความพยายามจากบางฝ่ายในพรรคพลังประชารัฐ ที่ต้องการให้สภาฯ ให้ฝ่ายค้านรุมยำ อุตตม สาวนายน รมต.คลัง ในฐานะผู้รักษาการตามพ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท เพื่อหวังตีชิ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงในกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ ถีบทีม 4 กุมารพ้นวงโคจร ดันพี่ใหญ่เข้ามาสวมหัวหน้าพรรค โดยทีมลิ่วล้อหวังพ่วงเข้าสู่เก้าอี้รัฐมนตรี ซึ่งยังมีความพยายามเคลื่อนไหวอย่างหนักหน่วง แม้กระทั่งระหว่างการอภิปราย ยังมิวายมีการล็อบบี้ให้กรรมการบริหารพรรคลาออกเพื่อล้างไพ่ตั้งกันใหม่

          “การอภิปราย 2-3 วันที่ผ่านมา ทั้งนายกฯ และรมต.คลัง ตลอดจนทีมข้าราชการที่ทำหน้าที่ในการดูแลจัดการการออก พ.ร.ก.เงินกู้ ตอบคำถามได้พอสมควร อธิบายเหตุผล ความจำเป็น ซึ่งทุกฝ่ายเห็นตรงกันในการกู้เงินครั้งประวัติศาสตร์ ที่ถูกติงติงหนักๆ เป็นเรื่องการใช้เงินกู้ก้อนหลัง 4 แสนล้านบาท เพื่อฟื้นเศรษฐกิจจากพิษโควิด-19 ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำโครงการ โดยมีคณะกรรมการกลั่นกรอง ซึ่งในทางการเมืองที่จะทำให้มีปัญหาใหญ่โตขึ้นได้ ต้องเป็นเรื่องการกระทำทุจริตคิดมิชอบ แต่เมื่อยังไม่มีโครงการ แค่ริเริ่มทางนโยบายยังไม่ได้ใช้เงิน ปัญหาจึงเบาบางลง”

          อย่างไรก็ดี มีส.ส.ฝ่ายค้านและพรรคร่วมรัฐบาลบางคน ที่ติติงได้สมเหตุสมผล ที่รัฐบาลต้องรับฟังและนำไปแก้ไข อาทิ เช่น วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.ของพรรคก้าวไกล ที่ตำหนิเรื่องการอุ้มเอกชนที่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ทำออกมาก่อนที่เยียวยาโควิดให้ประชาชน ครอบข้อหาอุ้มเจ้าสัวให้ ซึ่งรัฐบาลต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการเร่งดำเนินการ

          หรือกระทั่งประเด็นของ เกียรติ สิทธีอมร จากพรรคประชาธิปัตย์ที่ติติงกรณีเงินฟื้นฟูในประเด็น คณะกรรมการกลั่นกรอง คือ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และพิจารณาโดยสภาพัฒน์ และกระทรวงการคลัง ขณะที่คนทำรายงานความก้าวหน้า ก็เป็นสภาพัฒน์ซึ่งขัดกับหลักธรรมาภิบาล

          หลังอภิปราย พ.ร.ก.กันเสร็จ รัฐบาลคงต้องเข้าสู่โหมดฟื้นฟูเศรษฐกิจกันอย่างจริงจัง และต้องการผลอย่างแท้จริงให้เศรษฐกิจกระเตื้อง ต้องสกัดกั้นการว่างงาน การเลิกจ้างให้ได้

          สภาพัฒน์ประเมินล่าสุดว่า จำนวนคนที่สุ่มเสี่ยงจะตกงานจากพิษโควิด อาจมีสูงถึง 8.4 ล้านคน ในภาคบริการท่องเที่ยว 3.9 ล้านคน อุตสาหกรรม 1.5 ล้านคน และแรงงานในภาคบริการที่เกิดจาการปิดสถานที่ต่างๆ สถานศึกษา ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สนามกีฬาอีกจำนวน 4.4 ล้านคน

          ล่าสุดศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. ได้คลายล็อกรอบ 3 กำหนดเคอร์ฟิวจาก 5 ทุ่มถึงตี 3 จากเดิมตี 4 แต่ยังคุมการเดินทางเข้ามาจากต่างประเทศ การเดินทางข้ามจังหวัดเปิดเดินทางได้ แต่ไม่เสรีมาก และห้างสรรพสินค้าขยายเวลาปิดจาก 2 ทุ่มเป็น 3 ทุ่ม พร้อมกับผ่อนคลายหลายกิจกรรม ทั้งอาคารสถานที่เปิดให้สถาบันการศึกษาเพื่อใช้การคัดเลือก สอบคัดเลือก อบรมระยะสั้น แต่ยังไม่เปิดให้มีการเรียนการสอน ส่วนโรงเรียนนอกระบบ โรงเรียนเอกชน วิชาชีพ ศิลปะการกีฬาก็เปิดได้เช่นกัน

          “ผ่อนคลายมากขึ้นก็จริง แต่กิจกรรมบางอย่างที่เป็นเส้นเลือดใหญ่อย่างธุรกิจกลางคืน ผับ บาร์ ยังไม่เปิด ซึ่งคนทำงานในส่วนนี้ทั้งธุรกิจต่อเนื่อง เป็นแสน เป็นล้านคนทั่วประเทศ เรียกว่าธุรกิจกลางคืนยังคงดับสนิท ด้านหนึ่งก็กลัวในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ด้านหนึ่งก็กลัวอดตาย”

          รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ ต้องก้าวข้ามความขัดแย้งทางการเมืองทั้งมวล ทั้งในพรรค นอกพรรค หันมากำชับขันน็อตทีมเศรษฐกิจ ประสานทุกภาคส่วน เอกชน รัฐ ฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเต็มกำลัง พิสูจน์ฝีมือการบริหารกันอย่างจริงจัง

          ไม่ไหว ไม่มีเวลาแล้ว ลุงตู่เอ๋ย!!!


Let's block ads! (Why?)


May 30, 2020 at 11:00AM
https://ift.tt/2zzNOlC

เสร็จศึกพรก. เดินหน้าสู่โหมดฟื้นศก. - ฐานเศรษฐกิจ
https://ift.tt/2BaQsOR
Home To Blog

No comments:

Post a Comment